Oho! ฮีโร่ร้านอาหาร ลด Food Surplus สาเหตุหลักโลกร้อน

FeatureIMG Oho Food Surplus min

หลังจากที่สถานการณ์ Covid-19 กลายเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจอาหารมีบริการ Delivery รองรับแล้ว บริษัทที่โมเดลเกี่ยวกับการทำเดลิเวอรี่ส่งอาหารโดยเฉพาะอย่าง พวก Grab, Line Man, Foodpanda, Robinhood ฯลฯ ก็กลายเป็นที่รู้จักและมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว

ปัจจุบัน ความเข้มงวดเรื่องการรักษาระยะห่างถูกปลดล็อกแล้ว บวกกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทำให้คนกลับออกมาใช้จ่ายนอกบ้าน เหล่าร้านอาหารที่เคยต้องปิดไปก็กลับมาเปิดขายกันอีกครั้ง

ไม่ใช่แค่ปัจจุบันเท่านั้น แต่ก่อนหน้าที่จะมี Covid-19 ร้านอาหารหลายแหล่งมีปัญหาเดียวกันคือหลังร้านปิด มีวัตถุดิบหรืออาหารเหลือค้างจำนวนมาก และแต่ละร้านก็มีวิธีจัดการแตกต่างกันไป ทั้งแบ่งให้พนักงานบ้าง เอามาวางขายในราคาพิเศษบ้าง หรือบางร้านแค่ทิ้งไปเลยก็มี (จนเกิดเป็นดราม่ามาแล้วหลายครั้ง)

ปัญหาอาหารเหลือจากการขายนี้ เรียกว่า Food Surplus ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้โลกร้อน ซึ่งหมายถึงแค่อาหารเหลือขายเท่านั้นนะ แต่ยังรวมถึงผักหรือผลไม้ที่ไม่ผ่าน QC ของร้าน เช่นผักใบเล็กไป มะม่วงที่สุกหรือช้ำเกินไป อาหารกระป๋องที่ใกล้หมดอายุ ทางเลือกในการไปต่อของน้องๆ เหล่านี้ก็มีไม่กี่ทางตามที่ได้เล่าไป

p Ierxx2tnXQ l5MoDbrs CZLqmQBu3L4yxmmW2aaowzl7E MCviHsIlARUDYXZOGZqtunpfDVhvpnTrL xin1LrLBWm3dkATEUTc3rgYsw1jKPx3gtX5Hc94GcIwjAo1y oh0k4nQikCR vbj0fzs

จาก Food Surplus ที่เกิดขึ้น มีบริการเดลิเวอรี่แห่งหนึ่งได้หยิบปัญหานี้มาเป็นโมเดลธุรกิจหลัก นั่นก็คือแอปฯ Oho! ที่ร้านค้าสามารถเอาสินค้า เมนู หรือวัตถุดิบเหลือขายในร้านตัวเอง มาวางขายบนแอปฯ นี้ในราคาพิเศษได้ แอบไปส่องมา ราคาเริ่มต้นของอาหารในแอปนี้ถูกกว่า 25% จากหน้าร้านเลย บางออเดอร์ลดไปถึง 70% (แต่ไม่รู้จะเหลือถึงมือเรารึเปล่านะ)

แอปฯ นี้เหมือนเป็นโอกาสที่สองของร้านค้าในการขายสินค้านั้นก่อนตัดสินใจทิ้ง ส่วนนักกินเองก็ยังได้ลิ้มลองเมนูจากร้านอาหารที่ชอบในราคาถูกกว่าปกติอีกด้วย! เรียกว่าวิน-วินกันทั้งสองฝ่าย

[Scale’s Takeaways]

1. บนโลกนี้ ขยะอาหาร (Food Waste) มีมากกว่าที่คิด!

จากสถิติของ UN บอกว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่เกิดมาบนโลก จะกลายเป็นขยะ (Food Waste) บวกกับข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษเผยว่า ประเทศไทยสร้างขยะเฉลี่ยปีละ 27-28 ล้านตันต่อปี และ 64% เป็น Food Waste (ขยะอาหาร) หรือก็คือตกคนละ 254 กิโลกรัมต่อปี! และเราอาจต้องใช้เงินจัดการกับขยะเหล่านี้ถึง 6 แสนล้านบาทเลยทีเดียว

เห็นตัวเลขอย่างนี้แล้วก็รู้เลยว่าปัญหา Food Waste และ Food Surplus นี่ก็ไม่ใช่เล่นๆ เลย

2. อีก 2 สตาร์ทอัปลดขยะอาหารเหลือทิ้ง

นอกจาก Oho! แล้ว มีอีกแอปฯ นึง ที่มีโมเดลธุรกิจเชื่อมต่อร้านอาหารกับลูกค้าเพื่อจัดการอาหาร Food Waste หรือ Food Surplus เหมือนกัน คือแอปฯ Yindee หรือที่ต่างประเทศก็มี Too Good To go แค่ชื่อก็น่ารักแล้ว 

3. 5 ไอเดียลด Food Waste ฉบับพ่อบ้านแม่บ้าน

  • ไม่ตัดสินอาหารจากรูปลักษณ์ เลือกผักและผลไม้ที่หน้าตาขี้เหร่ ก่อนน้องจะเหลือขายและถูกเททิ้งไป
  • ซื้อเฉพาะสิ่งที่ต้องการเท่านั้น ลิสต์รายการทุกครั้งที่ไปซื้อของ เลี่ยงการซื้อเพื่อกักตุน
  • ย้ายอาหารเก่าไปไว้หน้าตู้เย็น แล้วเอาของใหม่ไปไว้ด้านหลัง ปิดฝาให้เรียบร้อย ทำให้มั่นใจว่าไม่มีแมลงเข้ามา
  • เข้าใจความหมายของ “ควรบริโภคก่อน” และ “บริโภคภายใน” อย่ามือไวทิ้งทุกอย่างที่คิดว่ากินไม่ได้แล้ว
  • ทำมื้ออาหารเล็กๆ ให้พอกิน ถ้ากินเหลือควรแช่แข็งไว้กินภายหลังหรือเก็บไว้เป็นส่วนผสมในเมนูอื่นๆ

สรุป

เรียกว่า Oho! เป็นสตาร์ทอัปที่น่าจับตามองในยุค Sustainability Economy อีกหนึ่งแบรนด์ เพราะได้ให้ประโยชน์ที่คุ้มค่ากับทั้งฝั่งร้านค้าและผู้ซื้อ น่าเสียดายที่ยังมีคนรู้จักแอปนี้ไม่มาก และร้านค้าพาร์ทเนอร์ส่วนใหญ่ยังกระจุกอยู่แค่ในกรุงเทพฯ ถ้ามีคนใช้บริการแบบนี้เยอะๆ ก็น่าจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจาก Food Surplus มากขึ้นแน่นอน

อ้างอิง

About The Author

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตาม scale เพื่อเติมความรู้ดีๆ ใส่สมองก่อนใคร!

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามต่อทาง Social Media

นอกจากอีเมลแล้ว คุณยังสามารถติดตามคอนเทนต์ดีๆ ผ่าน Social Media ได้เช่นกัน

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามเราทาง Facebook

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

กดปุ่มนี้

Scroll to Top