รู้หรือไม่? ว่า Apple Watch ไม่ใช่เจ้าแรกที่ปล่อย Smart Watch สู่ตลาด
กาลครั้งหนึ่ง นานมาพอแล้วพอสมควร ตลาด Smart Watch นั้นถือกำเนิดมาจาก Project บน Kickstarter ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระดมทุนชั้นนำของโลก (ใครมีของเจ๋งๆ อยากได้เงิน เอาไประดมทุกได้ที่นี่)
จริงๆ แล้ว มีบริษัทหลายบริษัทก่อนหน้านี้พยายามทำนาฬิกาในรูปแบบ Digital แต่แบรนด์แรกๆ ที่ทำให้ Smart Watch เชื่อมต่อกับมือถือได้ และทำให้ Smart Watch กลายเป็นเรื่องที่ Mass ขึ้น ก็คือบริษัท Hardware Startup ที่ชื่อว่า “Pebble”
รู้จักกับ Pebble Watch: แบรนด์ Smart Watch ชื่อดัง (เมื่อสิบกว่าปีก่อน)
ในช่วงราวๆ ปี 2012 ไอเดียนาฬิกาที่เชื่อมกับมือถือได้ยังเป็นไอเดียที่ใหม่ แถมอีไซน์ที่ Pebble ออกแบบมาก็ดูมีความแตกต่าง คนก็เลยรู้สึกว้าวมากๆ และ Pebble เองก็สามารถระดมทุนบน Kickstarter ไปได้ทั้งหมด $10,266,845 (ราวๆ 300 กว่าล้านบาท) ทั้งๆ ที่พวกเขาตั้งเป้าระดมทุนไว้แค่ $100,000 เท่านั้นเอง
หลังจากแคมเปญประสบความสำเร็จและส่งมอบ Smart Watch รุ่นแรกไปแล้ว พวกเขาก็ได้ออกระดมทุนอีกครั้งในปี 2015 ด้วย Pebble Time และในปี 2016 ด้วย Pebble 2
ซึ่งตัว Pebble 2 นั้นมีปัญหาเรื่องการขนส่งล่าช้าไปนานกว่าปีครึ่ง และมีหลายๆ คนที่ไม่ได้รับตัวสินค้า
ประกอบกับที่ในช่วงนั้น Apple เองได้เปิดตัว Apple Watch ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Device ต่างๆ ของ Apple ได้โดยตรง (รวมถึงจากค่าย Samsung เองก็มีการเปิดตัว Samsung Galaxy Gear มานช่วงก่อนหน้านั้นนิดหน่อย)
Pebble เองก็เลยอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะทั้งการผลิตก็มีปัญหา และโดนคู่แข่งที่มี Ecosystem ที่แข็งแรงกว่ามากๆ มาตี
สุดท้าย วันที่ 7 ธันวาคม 2016 ทาง Pebble ประกาศว่าบริษัทถูกซื้อไปโดย Fitbit (บริษัทขาย Wearable Device สำหรับคนที่ชื่นชอบออกกำลังกาย) ไปในมูลค่าราวๆ $40 ล้านเหรียญ
ก็เลยเป็นอันปิดฉากบริษัทที่เป็นผู้จุดกระแส Smart Watch ของโลกลงไป
Scale’s Takeaways
- Ecosystem คือสิ่งที่สร้างความแตกต่าง
Ecosystem คือสิ่งที่สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ดังเช่น Apple ที่เป็น Close Ecosystem ทำให้คนที่ใช้สินค้าบางตัวของ Apple อยากจะใช้สินค้าตัวอื่นๆ ต่อด้วย เพราะมันเชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อ
Pebble ที่ไม่ได้มี Ecosystem ใดๆ มีเพียงแต่ Smart Watch แล้วต้องคอยไปเชื่อมกับคนอื่น ก็เลยต้องเป็นผู้พ่ายแพ้ในศึกนี้ไป
- Timing คือสิ่งสำคัญ
เร็วกว่า ใหม่กว่า (หรือบางครั้งดีกว่า) ก็อาจจะไม่ใช่ผู้ชนะเสมอไป การปล่อยสินค้าสู่ตลาดเร็วไป พฤติกรรมของคนอาจจะยังไม่พร้อม หรือการปล่อยสินค้าสู่ตลาดช้าไป ก็ทำให้สู้กับคู่แข่งยาก
อย่าง Pebble เอง ก็ต้องรับบทของผู้ที่มาก่อนกาล เป็นผู้เปิดตลาด แต่สุดท้ายโดนบริษัทอื่นๆ รับผลประโยชน์ไป
- ต้องรู้จักประเมินความเสี่ยง
ต้องรู้จังหวะ รุก รับ ถอย เลิก
มีรายงานว่า Pebble เองเคยถูกเสนอซื้อด้วยมูลค่า $740 ล้านเหรียญโดย Citizen ในปี 2015 แต่พวกเขาไม่ยอมขาย เพราะผู้ก่อตั้งมั่นใจว่าธุรกิจของพวกเขาจะไปได้ดี
ในช่วงขาลง พวกเขาถูกเสนอซื้ออีกครั้ง โดย Intel ในมูลค่า $70 ล้านเหรียญ แต่ก็ยังไม่ยอมขาย
สุดท้าย พวกเขาก็เลยต้องขายบริษัทให้ Fitbit ในมูลค่า $40 ล้านเหรียญ โดยที่เจ้าของน่าจะไม่ได้อะไรกลับไปมากนักด้วย
สรุป
และนี่คือเรื่องราวของ Pebble บริษัท Smart Watch ที่มาก่อนกาล
คุณเป็นหนึ่งในคนที่เคยซื้อและใช้ Pebble รึเปล่า? หรือคุณมี Takeaways อะไรเพิ่มเติมจากบทเรียนนี้ไหม? มาคุยกันต่อได้ในคอมเมนต์เลย
* หมายเหตุ Pebble ที่ถูกเขียนถึงในบทความนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์นาฬิกาใช้ชื่อ Pebble ในปัจจุบัน
อ้างอิง
- https://www.techtarget.com/iotagenda/definition/smartwatch#:~:
- https://www.businessinsider.com/how-smartwatch-pioneer-pebble-lost-everything-2016-12
- https://en.wikipedia.org/wiki/Pebble_(watch)
- https://slidebean.com/story/what-happened-to-pebble-smartwatch
- https://en.wikipedia.org/wiki/Pebble_(watch)
- https://www.androidauthority.com/smartwatch-with-camera-1637240/