รู้จัก Bell Labs ศูนย์กลางนวัตกรรมของอเมริกาในยุคก่อน Silicon Valley 

01 FeatureIMG W Scale Story 4 1

ปัจจุบัน Silicon Valley ถือเป็น Innovation Hub ของสหรัฐอเมริกา แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า ก่อน Silicon Valley จะรุ่ง นวัตกรรมต่างๆ พุ่งมาจากไหน?

ในบทความนี้นี้ เราจะมาทำความรู้จักกับศูนย์นวัตกรรมยุคก่อน Silicon Valley ที่กวาดรางวัลโนเบลได้มากกว่า 10 ชิ้นกัน

รู้จักกับ Bell Labs: ศูนย์นวัตกรรมยุค Pre-Silicon Valley

งานวิจัยเกี่ยวกับ Quantum Dots ที่เพิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากงานที่ Bell Labs หรือถ้าใกล้ตัวกว่านั้น Solar Cell สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า, Transistor ที่โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ต้องมี หรืออย่างภาษา C ที่จนถึงตอนนี้ก็ยังใช้กันทั่วไป 3 อย่างนี้เป็นตัวอย่างงานจาก Bell Labs เหมือนกัน  

จะเห็นได้ว่า Bell Labs สร้างงานเจ๋งๆ ออกมาหลายอย่าง คำถามคือแล้ว Bell Labs ทำยังไงถึงสร้างมันแบบนี้ออกมาได้ สิ่งแวดล้อมแบบไหนกันที่เอื้อให้คนข้างในใช้ความคิดสร้างสรรค์กันได้อย่างเต็มที่ 

Bell Labs ก่อตั้งขึ้นในปี 1925 เป็น Lab ที่ขึ้นกับบริษัท AT&T ซึ่งเป็นผู้ผูกขาดธุรกิจโทรคมนาคมในสหรัฐอเมริกา และการผูกขาดก็ทำให้ได้รับทุนสนับสนุนจำนวนมาก Bell Labs จึงมีทุนสำหรับจ้างนักวิทยาศาสตร์, วิศวกรที่มีความสามารถกว่า 2 หมื่นคนให้เข้ามาทำงานที่นี่

แต่นอกจากต้นทุนเรื่องคน สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Bell Labs แตกต่างจากบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Microsoft, Apple หรือ Meta ในทุกวันนี้ ก็คือวิธีการทำงาน ที่ Bell Labs จะไม่ได้โฟกัสที่การสร้าง Product ใหม่ๆ ให้เร็วที่สุด แต่เป็นการสร้างเพื่อให้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้น หรือก็คือมี Culture ที่หมุนรอบการวิจัยมากกว่า 

ซึ่ง Culture นี้ก็ทำให้คนทำงานไม่ถูกตีกรอบความคิดสร้างสรรค์ คุณอยากลองใช้หลักสถิติเพื่อทำ Quality Control เหรอ? ก็ลองดูสิ! (แล้วนี่ก็กลายเป็น Six Sigma เป็นสถิติที่เอาไว้ใช้ในโรงงาน) คุณอยากเอาคณิตศาสตร์มาเชื่อมโยงกับการสื่อสาร? ก็ลองดูสิ! (แล้วนี่ก็กลายเป็นรากฐานของ Information Theory ที่เอาไว้บีบ-ส่งข้อมูลในการสื่อสาร) 

นวัตกรรมของ Bell Labs ไม่ได้มีที่มาแต่จากเงินสนุบสนุนเท่านั้น แต่ยังมาจาก Culture การทำงานที่สนับสนุนการวิจัย ให้นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรได้ลองผิดลองถูกเพื่อผลักดันขอบเขตของงานไปข้างหน้า ซึ่งความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือมันกลายเป็นว่าการไม่โฟกัสที่การสร้าง Product กลับนำไปสู่การสร้าง Product เจ๋งๆ มากมายหลายชิ้น 

แต่การรักษา Culture นี้ไว้ก็เป็นเรื่องยาก เพราะหลังจากการผูกขาดของ AT&T จบลงในช่วงปี 1980 นวัตกรรมก็ถูกขับเคลื่อนด้วยเหตุผลทางการค้ามากกว่าแทน (หลังจากนั้น Bell Labs ก็ย้ายไปอยู่กับหลายบริษัท โดยปัจจุบันอยู่กับ Nokia) และการมาของ Silicon Valley ก็ทำให้คนใน Bell Labs ที่มีความสามารถ ย้ายออกไปคว้าโอกาสใหม่ๆ แทน และสิ่งที่ถูกขนย้ายออกไปพร้อมคนก็คือ Know-How และเทคโนโลยีที่ติดตัวไปด้วย 

ดังนั้น Bell Labs จึงเป็นเหมือน Proof of Concept ของการลงทุนกับการวิจัยพื้นฐาน ที่แม้ว่าการประยุกต์ใช้งานในช่วงเริ่มต้นจะยังไม่ชัดเจนก็ตาม แต่นั่นก็คือการปูพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้กับการสร้างนวัตกรรมจนถึงทุกวันนี้ 

Scale’s Takeaways

1. Cultivate a Research Culture

Bell Labs มีจุดเด่นอยู่ที่ Culture ที่ให้คุณค่ากับการลองผิดลองถูก ให้นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรได้คิดอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องเงิน หรือการรีบ Launch Product ออกมามากนัก ทำให้คนทำงานสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ 

2. Invest in Talent 

Bell Labs จ้างงานนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรกว่า 2 หมื่นคน เป็นการเอาคนเก่งมารวมไว้ด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่การสร้างงานที่มีคุณภาพ 

3.Embrace Long-Term Thinking

Bell Labs เลือกลงทุนระยะยาวไปกับการวิจัย และพัฒนา เพราะเข้าใจว่าแม้การสร้างนวัตกรรมอาจต้องใช้เวลาในการตกผลึก แต้นวัตกรรมนั้นสามารถสร้าง Impact ให้กับอุตสาหกรรม และโลกได้ 

สรุป

และนี่คือเรื่องราวของ Bell Labs สถานที่ที่ให้คนทำงานได้ลองผิดลองถูกจนได้เทคโนโลยีที่กลายเป็นพื้นฐานของสิ่งที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน 

คิดเห็นยังไงกับ Culture ของ Bell Labs บ้าง มาแชร์กันใน Comment ได้นะ 

อ้างอิง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตาม scale เพื่อเติมความรู้ดีๆ ใส่สมองก่อนใคร!

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามต่อทาง Social Media

นอกจากอีเมลแล้ว คุณยังสามารถติดตามคอนเทนต์ดีๆ ผ่าน Social Media ได้เช่นกัน

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามเราทาง Facebook

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

กดปุ่มนี้

Scroll to Top