KARUN Thai Tea ชาไทยพรีเมี่ยมที่สร้างยอดขาย 100 ล้านบาทต่อปี

FeatureIMG B Scale Story Karun

ถ้าพูดถึงชาไทยเกรดพรีเมียม ‘KARUN Thai Tea’ แน่นอนว่าคงเป็นแบรนด์ชาไทยอันดับแรกในใจของหลายคนที่ขายได้ 800 แก้วต่อ 1 สาขา และในปีที่ผ่านมายังสร้างยอดขายทะลุถึง 100 ล้าน 

คุณรัส ธัญย์ณภัคช์ ศิริประภาเจริญ CEO แบรนด์ชาไทย KARUN เล่าว่า KARUN มีต้นกำเนิดมาจากสูตรชาของคุณแม่ที่มีอายุกว่า 20 ปี โดยคุณแม่มักจะชงให้แขกที่มาบ้านดื่มซึ่งเป็นที่ติดใจกันทุกราย จนเธอได้พัฒนาสูตรชาของคุณแม่มาเป็นแบรนด์ KARUN ที่ได้ชื่อมาจากชื่อบ้านของครอบครัวเธอที่อากงเป็นคนตั้งให้

สูตรความสำเร็จของ Karun Thai Tea มีอะไรบ้าง?

Branding ที่แข็งแกร่ง

KARUN ได้สร้างบทบาทให้ตนเองเป็นแบรนด์ชาไทยพรีเมียม ทุกอย่างในร้านถูกคัดสรรมาด้วยความใส่ใจและประณีต ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบพรีเมียม แพ็กเกจและการตกแต่งร้านให้ดูมีความหรูหรา และการบริการที่ดีเสมือนว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญของร้านทำให้สร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแกร่งขึ้นมา

จับกลุ่มลูกค้าที่ใช่

ด้วยความที่ภาพลักษณ์ของ KARUN เน้นความพรีเมียมและยังมีเป้าหมายในการทำให้ชาไทยไม่มีที่สิ้นสุด โดยเครื่องดื่มและขนมทุกอย่างในร้านถูกทำมาจากชาไทยจึงทำให้มีต้นทุนที่สูง การที่จะไปแข่งในเรื่องของราคาจึงไม่ใช่เป้าหมายของ KARUN กลุ่มลูกค้าของ KARUN จึงเป็นคนรักชาไทยที่มองหาร้านขายชาไทยเกรดพรีเมียมโดยเฉพาะและมีกำลังในการซื้อชาไทยเกรดพรีเมียมนั่นเอง

สำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค

พฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นจุดตั้งต้นสำคัญของการผลิตสินค้า ออกแบบแพ็กเกจและรูปแบบของร้าน โดยKARUN ใส่ใจพฤติกรรมของลูกค้ายุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากยิ่งขึ้นจึงออกสินค้าที่หวานน้อย แคลอรีต่ำ ใช้นมจากพืชเป็นอีกทางเลือก อีกทั้งยังออกแบบแพคเกจที่สายคอนเทนต์ต้องถูกใจ อดไม่ได้ในการถ่ายรูปอัปลงโซเชียล ถือเป็นการทำการตลาดแบบ User Generate Content ที่ช่วยประหยัดงบการตลาดทำให้ KARUN ใช้งบการตลาดแค่ 0.7% เท่านั้น

Scale’s Takeaways

1. มีวินัย

คุณรัสได้กล่าวว่าเคล็ดลับที่ทำให้เธอประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่แค่เรื่องของความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการมีวินัย โดยการมีวินัยไม่ได้หมายถึงการนอนเร็วตื่นเช้าแต่อย่างใด แต่หมายถึงเธอมักจะทำอะไรซ้ำๆ เชื่อซ้ำๆ กับสิ่งที่ตนเองตั้งใจจนกว่าเป้าหมายจะสำเร็จ

2. จับ Pain Point ให้ถูก

ก่อนที่จะสร้างแบรนด์ขึ้นมาการลงไปสำรวจตลาดของอุตสาหกรรมที่ตนสนใจนับเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาและใช้ความใส่ใจเป็นพิเศษ โดยPain Point ที่คุณรัสเจอคือลูกค้าที่ชอบชานมและชอบชาไทยพบว่าไม่มีพื้นที่สำหรับเขา แม้ชาไทยจะขายทั่วไปในตลาดแต่เราจะเห็นว่าไม่มีที่ไหนที่ตั้งใจทำชาไทยเพียงอย่างเดียวจริงๆ จึงเกิดเป็น KARUN ขึ้นมา

3. มองการณ์ไกล

คุณรัสเล่าว่าเธอมองการณ์ไกลตั้งแต่เริ่มตั้งแบรนด์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเป้าหมายระยะยาว 5 ปี ทั้งจำนวนยอดขาย สาขา และการออกสินค้าใหม่ๆ โดยปัจจุบันเธอมองไกลไปถึงการส่งออก KARUN ไประดับต่างประเทศซึ่งทุกอย่างก็ทำตามแพลนตลอดทำให้แบรนด์ไม่หลงทาง

สรุป

แม้เราจะเห็นชาไทยวางขายทั่วไปในตลาด แต่KARUN เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ชาไทยพรีเมียมเจ้าแรกๆ ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตชาไทยจริงๆ โดยเครื่องดื่มและขนมทุกชนิดต่างก็มาจากชาไทยเกรดพรีเมียม

อนาคตเราอาจจะเห็นแบรนด์เครื่องดื่มของไทยไปโลดแล่นกันในตลาดต่างประเทศ จะมีแบรนด์ไหนที่น่าสนใจอีก อย่าลืมติดตามกันได้!

อ้างอิง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตาม scale เพื่อเติมความรู้ดีๆ ใส่สมองก่อนใคร!

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามต่อทาง Social Media

นอกจากอีเมลแล้ว คุณยังสามารถติดตามคอนเทนต์ดีๆ ผ่าน Social Media ได้เช่นกัน

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามเราทาง Facebook

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

กดปุ่มนี้

Scroll to Top