สนับสนุน LGBTQ แบบจริงใจฉบับ Duolingo ด้วยการ “สอดแทรก” ลงบทเรียน

FeatureIMG B Scale Story Duolingo

สำหรับใครที่กำลังฝึกภาษา คงต้องเคยได้ยินหรือใช้แอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “Duolingo” อย่างแน่นอน 

ด้วยระบบการเรียนที่มีการวัดผลอย่างสม่ำเสมอ มีวิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อ ทำให้ Duolingo มียอดดาวน์โหลดในปัจจุบัน (นับในไตรมาสที่ 3 ในปี ค.ศ. 2023) เกือบ 48 ล้านดาวน์โหลดทั่วโลก และถ้าหากนับเฉพาะในแถบเอเชีย ก็มียอดดาวน์โหลดสูงถึง 21 ล้านครั้ง และทำรายได้ในปี 2023 ไปได้ถึง 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ! 

Duolingo เป็นแอปพลิเคชันที่พยายามพัฒนาวิชาใหม่ๆ อยู่ตลอด เช่น คณิตศาสตร์ และดนตรี รวมถึงอีกสิ่งหนึ่งที่ Duolingo ทำออกมาตั้งแต่ปี 2019 และยังคงทำมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ “การสอดแทรกความหลากหลายทางเพศ” 

แล้ว Duolingo ทำออกมาได้อย่างไร ที่ทำให้คนเห็นถึงความจริงใจในการสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ?

ต้อนรับ Pride Month ฉบับ Duolingo

คุณคิดว่าถ้าแบรนด์แบรนด์หนึ่ง อยากจะมาร่วมฉลองเรื่องความหลากหลายทางเพศ ต้องทำอะไรบ้าง? 

เปลี่ยนโลโก้ให้เป็นสีรุ้ง, ทำโพสต์บน Social Media ทุกโพสต์ให้ออกไปในทางสีรุ้ง, ไปร่วมเดินขบวน Pride Month, ออกสินค้าในเดือนนั้นๆ ให้เป็นสีรุ้ง,… 

แต่ Duolingo ได้ทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป 

นั่นก็คือ “การสอดแทรกเรื่องความหลากหลายทางเพศ” ลงในบทเรียน ยกตัวอย่างเช่น 

  • ผู้โดยสารหญิงที่นั่งบนแท็กซี่กำลังจะไปสนามบินเพื่อไปเที่ยวที่แคลิฟอร์เนียกับคู่รักของเธอ แต่แท็กซี่สงสัยว่าสามีเธอไปไหน เธอจึงตอบว่า “ฉันไม่มีสามี แต่ฉันมีภรรยาคนพิเศษของฉันต่างหาก” 
  • ยกตัวอย่างการสอนการเรียงประโยค เช่น My brother’s husband is Canadian (สามีของพี่ชายฉันเป็นคนแคนาดา), The dress fits him very well (ชุดกระโปรงนี้พอดีตัวเขา (ผู้ชาย) เลย), People of all gender are welcome (ยินดีต้อนรับคนทุกๆ เพศเลย) 
  • พัฒนาตัวละครใหม่ๆ ให้มีความหลากหลายทั้งทางเพศและเชื้อชาติมากขึ้น เช่น ผู้หญิงตัดผมสกินเฮด, ชายผิวสี, หญิงสาวนับถือศาสนาอิสลาม, หญิงสาวเงียบขรึมแต่ทำผมและแต่งตัวสีฉูดฉาด   

สาเหตุที่ Duolingo ทำแบบนี้ นั่นก็เป็นเพราะ Duolingo รู้ดีว่าผู้คนที่เรียนภาษานั้นมาจากที่หลากหลายทั่วทุกมุมโลก Duolingo จึงต้องการเชื่อมโยงประสบการณ์ของคนทุกคน เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่า “Duolingo ไม่ทิ้งคนเพศใดเพศหนึ่งไว้ข้างหลังนั่นเอง” 

ผลตอบรับ

มีกระทู้หนึ่งใน Quora (เว็บไซต์คล้ายๆ Pantip ในบ้านเรา) ได้ถามเรื่อง “มีตัวอย่างที่ดีของบริษัทที่สนับสนุน LGBTQ จริงๆ ที่ไม่ได้ทำแค่เปลี่ยนโลโก้สีรุ้งไหม???” 

หนึ่งในนั้นมีคนยกตัวอย่าง “Duolingo” ว่าเป็นการนำเอาคู่รัก LGBTQ มาสอดแทรกลงในบทเรียนได้อย่างแนบเนียน และไม่มีเรื่องเสียหายมาเกี่ยวข้อง เช่น การดูถูกเพศตรงข้าม ซึ่งอย่างน้อย Duolingo ก็ได้ก้าวข้ามสิ่งที่เรียกว่า “Rainbow Washing” (การฟอกสีรุ้ง: ใช้สัญลักษณ์ธีมสีรุ้งเพื่อโปรโมทแบรนด์ แต่ไม่ได้สนับสนุนตัวตนจริงๆ) ไปเรียบร้อยแล้ว 

นอกจากนี้ยังมีผู้คนมากมายชื่นชมและแสดงความยินดีกับ Duolingo ผ่านทาง Facebook Official Account กว่า 1300 คอมเมนต์ และยังอยากให้ทำตัวอย่างของ LGBTQ ออกมาเยอะๆ 

เมื่อมีคนชอบ ก็ย่อมมีคนไม่ชอบ 

เพราะมีอีกหลายคนที่ยังมองว่า Duolingo ยัดเยียดบทเรียนความเท่าเทียมกันมากเกินไปจนดูไม่เป็นธรรมชาติของแพลตฟอร์มเรียนภาษา รวมถึงยังมีอีกหลายประเทศที่ยังไม่สนับสนุน LGBTQ 

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบัน (2024) ก็ผ่านมาเกือบ 5 ปีแล้ว 

ถ้าหากคุณเปิดบทเรียนของ Duolingo ในตอนนี้ คุณจะพบว่ายังมีตัวอย่างสถานการณ์ของความหลากหลายทางเพศสอดแทรกอยู่เป็นระยะๆ 

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า Duolingo ยังคงยืนยันในสิ่งที่เชื่อเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นั่นก็คือ 

“ความเท่าเทียม และการยอมรับคนทุกคน ทุกเพศสภาพ และเปิดกว้างทุกเชื้อชาติ” นั่นเอง 

Scale’s Takeaways

1. จริงใจต่อลูกค้า 

หาก Duolingo ทำแค่การเปลี่ยนโลโก้ การเปลี่ยนสีแอปพลิเคชันให้เป็นสีรุ้ง ก็คงจะไม่ได้ใจผู้ใช้งานไปได้ขนาดนี้ 

แต่ Duolingo กล้าที่จะเอาเรื่องราวเหล่านี้มาใส่เป็นบทเรียน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ จริงๆ และยังคงทำมาจนถึงปัจจุบันอีกด้วย  

2. ใส่ใจในทุกรายละเอียด 

ตัวละครใน Duolingo ทุกตัวไม่ได้ถูกคิดขึ้นมาแค่เป็นตุ๊กตาสมมติเท่านั้น แต่ยังถูกใส่ใจในรายละเอียดตั้งแต่ชื่อที่จะใช้ เชื้อชาติ สัญชาติ ปูมหลัง ท่าทาง ไปจนถึงชีวิตประจำวันของตัวละครนั้นๆ 

ที่ Duolingo ต้องทำรายละเอียดของตัวละครขนาดนี้ นั่นก็เป็นเพราะ Duolingo อยากจะเข้าใจคนแต่ละคนจริงๆ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรนั่นเอง 

3. ทำทุกอย่างให้มาจากตัวตนขององค์กรจริงๆ 

Duolingo ไม่ได้สนับสนุนเรื่องความหลากหลายทางเพศแค่กับคนภายนอกเท่านั้น แต่ยังทำกับพนักงานในองค์กรอีกด้วย เช่น มีชายผิวสีเข้ามาทำงานในตำแหน่ง Data Scientist ซึ่งทำให้ชายคนนี้รู้สึกไม่ดีกับตัวเองมากๆ ที่เป็นคนผิวสีคนเดียวในหมู่คนผิวขาวที่ทำงานสายเดียวกัน แต่ด้วยเพื่อนร่วมงานที่เข้าใจเรื่องความหลากหลายเป็นอย่างดี ก็ทำให้เขาสามารถทำงานที่ Duolingo ได้อย่างมีความสุข

สรุป

และนี่คืดเรื่องราวของ Duolingo กับการส่งเสริมความหลากหลายทางเพศที่จริงใจ

คุณเคยเห็นแคมเปญไหนที่พูดถึง LGBTQ ในแบบที่คุณประทับใจบ้าง ลองเอามาบอกเราได้นะ 

อ้างอิง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตาม scale เพื่อเติมความรู้ดีๆ ใส่สมองก่อนใคร!

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามต่อทาง Social Media

นอกจากอีเมลแล้ว คุณยังสามารถติดตามคอนเทนต์ดีๆ ผ่าน Social Media ได้เช่นกัน

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามเราทาง Facebook

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

กดปุ่มนี้

Scroll to Top