นับเป็นประมาณ 2 ปีแล้ว ที่ทาง UNIQLO ได้ออกมาเปิดตัว ‘โดราเอม่อน' ให้เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ด้านความยั่งยืน
แล้วสงสัยไหมว่าทำไมถึงต้องเป็น โดราเอม่อน?
นั่นก็เพราะเป้าหมายของไอเดียนี้ ต้องการชวนให้ลูกค้าเข้ามาร่วมกับแบรนด์ ‘เปลี่ยนอนาคตด้วยพลังของเสื้อผ้า' จึงชวนโดราเอม่อนหุ่นยนต์ที่ย้อนเวลาจากอนาคตให้มาช่วยสื่อสารเรื่องนี้นั่นเอง
แล้วเพื่อที่จะชูคอนเซปต์นี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่แบรนด์ได้เปลี่ยนสีของพี่โดราเอม่อนจากสีฟ้าให้กลายเป็นสีเขียว แปลงร่างเป็น ‘โดราเอม่อนโหมดความยั่งยืน’ รวมถึงเปลี่ยนสีโลโก้ UNIQLO บน Sustainability Products จากสีแดงเป็นสีเขียวด้วย
Sustainable Products ของ UNIQLO เป็นการที่ทางแบรนด์เขาทำเส้นด้ายขึ้นมาจากขวดพลาสติกใช้แล้ว มาผลิตใหม่เป็นเสื้อผ้าโดยที่ไม่ลดคุณภาพลง ซึ่งเราสามารถดูส่วนผสมการผลิตของเสื้อแต่ละตัวได้ที่ป้ายราคาหรือบรรจุภัณฑ์ได้ด้วยนะ
ยังไม่หมด! UNIQLO เขาเอาจริงกับการเพิ่มความยั่งยืนให้กับสินค้าที่ลูกค้าซื้อไปแล้วด้วยการเปิดบริการเสริม RE.UNIQLO STUDIO ซึ่งให้ลูกค้าสามารถ
- Repair ซ่อมแซมเสื้อผ้าตัวเก่าตัวโปรด ให้อยู่ได้นานขึ้น
- Remake แปลงโฉมเสื้อผ้าเก่า ให้ใหม่ไม่ซ้ำใคร
- Reuse บริจาคเสื้อผ้าที่ไม่ใส่แล้ว ส่งต่อให้ผู้ที่ขาดแคลน
- Recycle แปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบสร้างสรรค์เสื้อผ้าชิ้นใหม่
ทำอย่างนี้แล้ว นอกจากแบรนด์จะได้เครดิตเรื่องความใส่ใจในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนแล้ว ยังทำให้ลูกค้าของแบรนด์รู้สึกมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมกับแบรนด์ด้วย
[Scale’s Takeaways]
1.แบรนด์แย่แน่ ถ้าไม่เริ่มสร้าง Sustainability ตอนนี้
ปัจจุบัน Sustainability ไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่เป็นความจำเป็นและหัวใจสำคัญของการดำเนินการธุรกิจ
- ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกหลายแห่งกำลังพัฒนาข้อกำหนดให้เปิดเผลข้อมูลองค์กรเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันให้ธุรกิจลดการปล่อยคาร์บอน
- การเพิ่มคุณของเกณฑ์การลงทุนด้าน ESG หมายความว่า Sustainability มีความน่าดึงดูดใจมากขึ้นต่อนักลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
2. ขั้นตอนสำคัญของการสร้าง Sustainable Strategy
- เช็กให้ชัวร์ว่า Stakeholders มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและตั้งใจ พร้อมตกลงร่วมกันถึงการสร้างความยั่งยืนในธุรกิจ เพื่อจะได้ลงมือทำอย่างจริงจริง ไม่ใช่แค่ขอไปที
- วางแผนกรอบเวลาและการดำเนินงาน สำรวจและบันทึกแนวทางที่สามารถเพิ่มความยั่งยืนในกระบวนการได้ รวมถึงกำหนดบทบาทและการรับผิดชอบที่ชัดเจน
- เริ่มต้นการดำเนินงานที่มีตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลและแสดงคุณค่าได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่แสดงถึงความยั่งยืนนี้จะส่งผลต่อการซื้อและการขยายของธุรกิจที่มากขึ้น
3. ความท้าทายของการสร้างธุรกิจที่มีความ Sustainability
อยากจะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงเรื่องความยั่งยืน ต้องทำแบบคนจริง ทำแค่เล็กๆ น้อยๆ ไม่พอให้ลูกค้ามองว่าแบรนด์จริงจังกับการดูแลโลก และความท้าทายที่จะสำเร็จเรื่องนี้ได้มีอยู่หลายอย่างเช่น
- ความพร้อมของลูกค้า: การจะสร้างอนาคตที่ยั่งยืน นอกจากพนักงานในบริษัทแล้วก็ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจากลูกค้าและพาร์ทเนอร์ เพื่อจะก้าวไปสู่การเป็น Sustainability Business ได้อย่างจริงจัง
- ค่าใช้จ่าย: การจะสร้างระบบ Sustainability ในธุรกิจ จำเป็นต้องมีการลงทุนล่วงหน้าสูงกว่าการดำเนินการในระยะสั้น ดังนั้นจึงควรวางกลยุทธ์การลงทุนให้เกิดผลกำไรที่ยั่งยืนในระยะยาวได้อย่างไรด้วย
- ความช้าของระบบ: แม้ว่าการสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจจะมีความสำคัญ แต่ในบริษัทก็มีงานอื่นที่สำคัญไม่แพ้กันอีกมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างทีมขึ้นมาดูแลเรื่องนี้ให้เป็นกิจลักษณะ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ในเวลาที่กำหนด
- ความพร้อมของเครื่องมือและความเชี่ยวชาญ: การไม่เตรียมพร้อมในการพัฒนาวิสัยทัศน์ กลยุทธ์และกรอบการทำงาน ถือเป็นความเสี่ยง หากธุรกิจยังไม่มี Solution ที่ครอบคลุม การร่วมมือกับพันธมิตรด้านนวัตกรรมอาจเป็นตัวช่วยที่ดี
สรุป
ความยั่งยืนของธุรกิจนั้นไม่ได้หมายถึงเพียงว่าสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ในตลาดได้อย่างยาวนานเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการเติบโตไปพร้อมกับสังคมอย่างเกื้อกูลกัน การสร้าง Sustainability ที่ดีให้กับธุรกิจ ไม่สามารถทำได้ด้วยแบรนด์เพียงฝ่ายเดียวแต่จำเป็นต้องร่วมมือกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร และได้รับประโยชน์กับทั้งธุรกิจและสิ่งแวดล้อมด้วย
อ้างอิง