ล้วงลึกเผยคัมภีร์ CEO : เคล็ดลับการบริหารที่ไม่เคยบอกใคร!

CTC recap 12

สรุปจากงาน “Creative Talk Conference 2024” ใน Session Session แอบฟัง CEO คุยกันเคล็ดลับบริหารงานของ CEO ที่ไม่เคยบอกใคร อนุพงษ์ อัศวโภคิน (AP Thailand) และคุณรวิศ หาญอุตสาหะ (Mission to the Moon)

ขอพาทุกคนไปแอบฟัง CEO เขาคุยกันตั้งแต่มุมมองสไตล์การบริหารองค์กร หรือคำพูดแบบไหนที่คนระดับผู้นำไม่ควรพูดออกมา เป็นคำต้องห้ามที่จะคอยบั่นทอนกำลังใจคนทำงาน นี่คือ Session สุด Exclusive ของ 2 ผู้บริหารแห่งยุค คุณอนุพงษ์ จาก AP Thailand และคุณรวิศ จาก Srichand และ Mission to the Moon ที่จะทำให้คนทำงานเข้าใจมุมมองผู้บริหารมากขึ้น รวมไปถึงผู้นำก็จะได้เข้าใจคนทำงานอย่างแท้จริง และบริหารงานเฉียบคมมากยิ่งขึ้น

 ล้วงลึกเผยคัมภีร์ CEO : เคล็ดลับการบริหารที่ไม่เคยบอกใคร!

  • เข้าใจวิธีคิด เข้าใจบทบาท และมุมมองของผู้นำองค์กร
  • จะรับคนเก่งเข้ามาทำงาน การเลือกคนสำคัญ แล้วจะเลือกอย่างไรให้ได้คนที่ใช่สำหรับองค์กร
  • ไม่ว่าจะอยู่ Gen ไหนก็ Burnout ได้ แล้วเคล็ดลับเวลา CEO หมดไฟเขาจัดการเรื่องนี้ได้อย่างไร 

สไตล์การบริหารงานของคุณรวิศ Mission to the Moon

  • มีพื้นที่ให้ได้แสดงฝีมือของตัวเอง
  • หลักการบริหาร T-L-T

Tide การตั้งเป้าหมายโดยรู้กติกาว่ากำลังอยู่ในสนามอะไร 

Loose วิธีการทำงาน หน้าที่ของหัวหน้าคือ กำหนดตำแหน่งที่ถูกต้อง แต่ปล่อยให้ทีมทำงาน

Tide วิธีการวัดผล ก็ต้องตรงกับการตั้งเป้าหมายแรก ที่ว่ากติกาของตลาดที่ลงเล่นคืออะไร ไม่ได้ตามเทรนด์ ไม่งั้นจะวัดผลไม่ได้ ถ้าทำตอนแรกได้ดี ก็จะวัดผลตอนหลังได้

สไตล์การบริหารของคุณอนุพงษ์​ AP Thailand

  • บริษัทที่อยู่มานาน 
  • วางบทบาทไว้หลวมๆ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง แต่เมื่อวันที่บริษัทโตขึ้น หัวหน้าจะเริ่มมีช่องว่างกับพนักงาน 
  • Process & Structure Corporate เป็นอย่างไร = Monitoring System เป็นอย่างไร ถึงค่อยต่อที่ว่าจะเติมคนเข้าไปในจุดไหน 
  • บริษัทใหญ่ที่มีพนักงานเยอะ 
  • ข้อดี คือ มีทีมที่เยอะขึ้น บริหารและสร้างได้เยอะขึ้น
  • สิ่งที่ควรสำคัญ คือ Culture องค์กร & Vision สำคัญ
  • เอา Value ขององค์กรไปนั่งคุยกัน เพื่อให้ชัดเจน และส่งต่อ Value นี้ต่อให้กับพนักงานคนอื่นเข้าใจ โดยคิดร่วมกับพนักงานหัวเชื้อที่จะถ่ายทอดสิ่งนี้ต่อ
  • เป็นการ Grooming องค์กร ในภาพใหญ่

การตัดสินใจของ CEO

  • คุณรวิศ – การตัดสินใจบนข้อมูลที่ไม่พร้อม เป็นความสำคัญของ CEO และไม่สามารถยกให้ใครตัดสินใจได้บนโลกที่ไม่แน่นอน
    • Gut Feeling คือ การสะสมประสบการณ์ตั้งแต่เด็กจนโต จนเกิดเป็นความรู้สึกที่บอกเราได้ว่าสิ่งไหนใช่หรือไม่ใช่ – เวลาตัดสินใจในโครงการที่ใช่ ใจเราต้องสั่น 
    • เราต้องใส่ Proportion ที่ถูกต้องตามธุรกิจและแนวทางของมัน (ไม่ใช่ตาม CEO) ว่า องค์ประกอบไหนที่สำคัญ เพราะถ้าเราเอา Bias เราไปตัดสินใจ มันจะเจ๊ง
    • การตัดสินใจ อาจไม่ได้เกิดแค่ความคิด แต่เกิดจากการตัดสินใจโดยสร้าง Prototype ขึ้นมาทดลอง และลูกค้าจะเป็นคนบอกเอง
  • คุณอนุพงษ์ – ยกการตัดสินใจออกไป ให้กับคนที่ใกล้ลูกค้า / รู้จักลูกค้าดีที่สุด เป็นคนตัดสินใจ
    • There no independent without boundary อิสระจะมีได้ต้องมีขอบเขต 
    • หน้าที่ของ CEO คือการวางขอบเขต Set rule และปล่อยให้คนที่เข้าใจที่สุดเป็นคนตัดสินใจ (นั่นคืออิสระ) และมีหน้าที่โยนโจทย์ โยนข้อคอมเมนต์ที่ช่วยเกลาให้
    • Reward กับคนที่ Outcome เพราะ Try hard ไม่ได้มีผล
    • กติกามีไว้เพื่อกำหนดทิศทาง แต่พนักงานซึ่งเป็นผู้เล่นคือผู้ที่ทำให้เกิดไปตามกรอบที่เราวางไว้ CEO ต้องมองภาพใหญ่ให้เป็น
  • การที่ CEO ตัดสินใจเอง ทำให้เกิดคอขวด 

CEO Burnout ได้ไหม

  • คุณรวิศ 
    • สำหรับ CEO การดูแลร่างกายและจิตใจเป็นเรื่องสำคัญมาก ต่อให้งานจะเร่งแค่ไหน แต่ CEO จะต้องนิ่งในใจให้ได้มากที่สุด เพราะ ความสำเร็จ การควบคุมอารมณ์ มีมากกว่า ทักษะของ CEO ซะอีก
    • การออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหา Burn out 
    • การนอน ทำยังไงก็ได้ให้นอนดี ช่วยส่งเสริมอารมณ์ทั้ง IQ / EQ 
    • วิธีแก้ Burn out ไม่ใช่การไปแก้ที่ลดงาน เปลี่ยนงาน แต่ต้องปรับที่ตัวเราเอง
  • คุณอนุพงษ์
    • สุขภาพเป็นสิ่งที่เสียไปแล้วเอากลับคืนมาไม่ได้
    • ส่วนฝั่ง สุขภาพใจ ลองถามตัวเองว่าเราเรียกว่างาน หรือ เรียกว่าเรื่องสนุก เพราะถ้ามันคืองาน มันคือเรื่องเครียดที่อยากจะลาออก 
    • Work hard, Play hard นั่นไม่มีอยู่จริง ถ้าคุณทำงานแล้วพอถึงเวลาจะตัดสายทิ้งเหรอ มันเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หรือเป็นไปไม่ได้ 
    • ส่วนหนึ่งที่ทำให้เราไม่อยากตื่นมาทำงานมากที่สุด คือ เบื่อคน  เพราะงั้นถามตัวเองว่า
      • 1. ถามตัวเองแค่เรื่องงานก่อนว่าเราโอเคแล้วหรือยัง
      • 2. ถามเรื่องคน การเอาใจเขามาใส่ใจเรา แต่สุดท้ายเราก็ไม่ได้เข้าใจเขาจริง ๆ  หา Need Objective Challenge ว่าสุดท้ายแล้ว คนเราต้องการอะไร เราไม่ได้เปลี่ยนผิดเป็นถูก แต่เข้าใจเขาและโกรธอย่างเข้าใจ เลิกโกรธ แต่ผลที่ตามมาเพราะคนคนนั้น ต้องปล่อยให้เกิด >> เกิด Empathy

เขาบอกว่า AI มาแทนที่มนุษย์ CEO กลัวไหม?

  • คุณรวิศ  – AI เติบโตและเก่งเร็วมาก 
  • ลองตั้งคำถามว่า “ถ้าโลกเปลี่ยนไป ตัวเราเองจะมีอะไรเป็น Value ที่จะไม่เปลี่ยนไหม” นี่คือสิ่งที่โฟกัส 
    • 1. นิสัยที่ดี เป็นที่รักของผู้คน ถ้าเก่งก็พออยู่ได้ แต่ถ้านิสัยดี คนอยากอยู่ได้  AI ก็เข้าาแทนไม่ได้ 
    • 2. Self-control คือ การควบคุมอารมณ์ของตัวเอง 
  • Leaders are surrounded by wall, mirror and liar
    • Wall – คือ คนเอากำแพงไปตั้งรอบเร
    • Mirror – กระจกสะท้อนตัวตนของเรา
    • Liar – คนที่โกหก ไม่เคยพูดความจริงกับเรา
  • ถ้าเรามองผ่านสามอย่างนี้ได้ เราจะมองเห็นตัวตนและควบคุมตัวเองได้
  • เข้าใจในฟังก์ชั่นและการพัฒนาของ AI เพื่อให้เข้าใจให้ได้มากที่สุด และตัดสินใจได้ว่าควรจะรับเข้ามาอย่างไร

คุณอนุพงษ์ – โลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงเยอะ

  • Prompt Engineer อาชีพที่ตั้งคำถามให้ AI 
  • คนที่จะมี Value ในยุค AI คือ คนที่พอรู้เรื่อง Coding แต่ต้องมี Expert ในสายงานที่เราชัดเจน เพื่อคิดคำถามกับ AI ได้ 
  • ความฉลาดของ AI คือ Google ที่ล่วงข้อมูลได้ทั้งโลก แต่มันไม่มี Creativity หรือยังไม่มีสำนึก เพราะสิ่งที่ AI ทำให้เรา มันคือการหาคำตอบที่เราเองก้สามารถค้นหาเองได้ แต่ต่างที่ความจุความจำ เพราะเราอาจจำไม่ได้เท่า AI 
  • AI ทำของเดิมจากสิ่งที่เรียนรู้ แต่ยังไม่สามารถสร้างของใหม่ได้
  • Creativity ยังเป็นของมนุษย์ เราต้องรู้ว่ามันคืออะไร เราถึงจะใช้ให้เป็น
  • Culture ขององค์กร คือ Storytelling
  • สิ่งที่เราจะสร้าง Culture ได้ เราต้องสร้าง Story ขององค์กรก่อน เพื่อให้เขาเข้าใจว่ามันเริ่มต้น มันมาจากไหน และ Value ที่เรายึดถือกันในองค์กร คืออะไร

สรุป

การเรียนรู้จากประสบการณ์และผ่านมุมมองของ CEO ทั้ง 2 ท่าน ช่วยให้เราสามารถพัฒนาการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและมีทิศทางที่ชัดเจนในยุคที่เทคโนโลยีและ AI กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตาม scale เพื่อเติมความรู้ดีๆ ใส่สมองก่อนใคร!

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามต่อทาง Social Media

นอกจากอีเมลแล้ว คุณยังสามารถติดตามคอนเทนต์ดีๆ ผ่าน Social Media ได้เช่นกัน

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามเราทาง Facebook

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

กดปุ่มนี้

Scroll to Top