Carbon Capture Storage (CCS) ทางรอดใหม่ของวิกฤตโลกร้อน

FeatureIMG B Scale Story CCS

เมื่อวิกฤตโลกร้อนมาเยือน การเดินหน้าหาวิธีจัดการและป้องกันวิกฤตนี้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับประเทศของเราต่างก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคนเพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ 

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูง อย่างการผลิตไฟฟ้าและการผลิตพลาสติกที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยในการดักจับก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อน ซึ่งหนึ่งในนวัตกรรมที่หลายธุรกิจต่างกำลังศึกษาในปัจจุบันก็คือ Carbon Capture Storage หรือ CCS

CCS คืออะไร?

CCS ย่อมาจาก Carbon Capture Storage หรือเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมและการผลิตพลังงานเพื่อนำไปกักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินหรือชั้นดินที่ลึกใต้พื้นผิวโลกเพื่อทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ไม่เข้าสู่บรรยากาศและลดการกระทบทางสภาพอากาศนั่นเอง

CCS ทำไมถึงเป็นทางรอดของโลกร้อน?

ที่หลายธุรกิจหันมาสนใจเทคโนโลยีนี้เนื่องจาก CCS เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีความทันสมัยและสามารถดักจับก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากอุตสาหกรรมได้มากถึง 90% เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าเทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจกแบบอื่นๆ CCS ยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถดักจับและกักเก็บคาร์บอนได้จริง ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกต่างก็เห็นไปในทางเดียวกันว่าการใช้ CCS จะสามารถทำให้ไปถึงเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซตามความตกลงปารีสและเป็นทางรอดของวิกฤตโลกร้อนเพื่อพาประเทศไทยไปถึงเป้าหมาย Net Zero ในอนาคตนั่นเอง 

ในประเทศไทยมีการใช้ CCS หรือยัง?

สำหรับในประเทศไทยได้เริ่มศึกษาและพัฒนาโครงการ CCS ครั้งแรกในปี 2564 โดยปตท.สผ. ได้เริ่มพัฒนาโครงการอาทิตย์ในอ่าวไทย โดยตรวจสอบและประเมินความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของชั้นหินใต้ดินเบื้องต้นออกแบบกระบวนการดักจับและกักเก็บ และการเจาะหลุมสำหรับกักเก็บแล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างการศึกษาทางวิศวกรรมเบื้องต้น และคาดว่าจะเริ่มใช้เทคโนโลยี CCS ในโครงการอาทิตย์ได้ในปี 2569 และสามารถเก็บคาร์บอนใต้ผืนดินได้มากกว่า 5 แสนตันต่อปี

Scale’s Takeaways

1. ความสำเร็จต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน

การนำเทคโนโลยี CCS มาใช้ในไทย ไม่ใช่แค่เพียงการศึกษาจากอุตสาหกรรมที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ต้องอาศัยทั้งความร่วมมือจากภาครัฐบาลและองค์กรหลายๆ ฝ่ายเพื่อส่งเสริมในด้านนโยบาย ด้านกฎหมาย ด้านการลงทุน รวมถึงด้านการสื่อสารและการให้ความรู้กับประชาชน

2. เงินลงทุนที่มากพอเป็นหัวใจสำคัญ

อีกปัจจัยที่จะช่วยให้ CCS ประสบความสำเร็จ นอกจากการร่วมมือของทุกภาคส่วนแล้วยังต้องอาศัยเงินลงทุนที่มากพอด้วยเพื่องจากเทคโนโลยี CCS นั้นมีต้นทุนค่อนข้างสูง ทั้งการพัฒนา การติดตั้ง และการดำเนินการทำให้อาจมีผลกระทบต่อความคุ้มค่าของการใช้งาน CCS จึงเป็นข้อจำกัดของหลายธุรกิจที่ต้องการนำ CCS มาใช้ในธุรกิจของตน

3. อย่าลืมพิจารณาข้อจำกัด

ในการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในธุรกิจ หลายคนมองว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งก็อาจจะจริง แต่การใส่ใจและให้ความสำคัญกับข้อจำกัดก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน

สรุป

เทคโนโลยี CCS เป็นอีกเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอนอย่างมาก ปัจจุบันมีหลายธุรกิจในไทยที่กำลังศึกษาและพัฒนาอย่างจริงจัง ในอนาคตเราคงได้เห็นเทคโนโลยีนี้ถูกใช้กันในหลากหลายธุรกิจ

อนาคตจะมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ อะไรที่ช่วยลดวิกฤตโลกร้อนบ้าง ถ้าอยากรู้กดติดตาม Scale ไว้เลย!

อ้างอิง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตาม scale เพื่อเติมความรู้ดีๆ ใส่สมองก่อนใคร!

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามต่อทาง Social Media

นอกจากอีเมลแล้ว คุณยังสามารถติดตามคอนเทนต์ดีๆ ผ่าน Social Media ได้เช่นกัน

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามเราทาง Facebook

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

กดปุ่มนี้

Scroll to Top