เทคนิคการสื่อสารแบบโบราณของ Aristotle ที่ยังคงทรงพลังในทุกยุคทุกสมัย

FeatureIMG AW Aristotle

การสื่อสารที่ดีต้องเป็นการสื่อสารที่โน้มน้าวหรือเข้าถึงใจของผู้รับสารได้ บนโลกนี้มีเทคนิคการสื่อสารอยู่หลากหลายรูปแบบ มีหนึ่งในเทคนิคการสื่อสารที่ได้รับการยอมรับมาตั้งแต่โบราณกาลที่น่าสนใจมาก นั่นคือการสื่อสารของ อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก

โดยทฤษฎีการสื่อสารของ Aristotle นั้น สามารถแบ่งองค์ประกอบในการสื่อสารได้ทั้งหมด 3 ข้อ กับอีก 2 องค์ประกอบเสริม ที่ควรมีอยู่ในการสื่อสารเหล่านั้น 

เราสามารถตรวจสอบได้ว่าการสื่อสารของเรายังขาดองค์ประกอบไหนจากทั้งหมด 5 นี้หรือเปล่า เพื่อเป็นการปรับปรุงการสื่อสารของเราให้มีความครบสมบูรณ์ จนสามารถโน้นน้าวใจผู้คนได้มากขึ้น ลองมาตรวจเช็คองค์ประกอบทั้ง 5 ของ Aristotle กันได้เลย

Ethos จะเล่าอะไรผู้เล่าต้องมีความน่าเชื่อถือ

หลักการแรกคือการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้เล่า เวลาที่เราจะฟังเรื่องเล่าจากใคร คนๆ นั้นต้องเป็นคนที่เรามั่นใจว่าจะสามารถเชื่อเขาได้ 

โดยเราสามารถทำให้ผู้ฟังเชื่อถือเราได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่ การแต่งตัว, น้ำเสียงในการพูด, จังหวะการใช้น้ำเสียง, บุคลิกภาพ, การเล่าประวัติโดยย่อ ฯลฯ ซึ่งหากเราทำให้ผู้ฟังเชื่อถือเราได้ จะทำให้ผู้ฟังเกิดการคล้อยตามได้ง่ายขึ้น รวมถึงจะส่งผลให้เรื่องราวของเรามีความน่าเชื่อถือมากขึ้นอีกด้วย

Logos การสื่อสารต้องอยู่บนเหตุและผล

ในการสื่อสารสิ่งที่เราต้องมีคือ “หลักฐาน” สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ให้ผู้ฟังสามารถรวบรวมข้อมูลในหัวและประกอบกันได้จนเกิดเป็นเรื่องราวที่เป็นเหตุเป็นผล 

ในปัจจุบันมีการใช้ “งานวิจัย” ในการมาส่งเสริมความเป็นเหตุเป็นผลในส่วนนี้ เพราะผู้ฟังจะสามารถถูกโน้มน้าวใจได้ ถ้าสิ่งที่เล่านั้นมีผลลัพธ์มาแสดงให้ดู ความเป็นเหตุเป็นผลที่พิสูจน์ได้จึงเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร

Pathos สร้างความรู้สึกร่วมกับผู้ฟัง

อีกสิ่งที่สำคัญคือการทำให้ผู้ฟังคล้อยตามด้วยความรู้สึก ด้วยวิธีการหาจุดเชื่อมโยงของผู้ฟังกับการสื่อสารของเรา หากเราที่เรานำเสนอมีบางสิ่งที่ตรงกับประสบการณ์ของผู้ฟัง ก็จะทำให้พวกเขามองเห็นความเป็นจริงที่ตรงกับประสบการณ์ของตัวเอง

เมื่อเราสามารถเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ได้ เราก็จะสามารถโน้มน้าวใจของผู้ฟังได้มากขึ้นนั่นเอง

Telos ทุกการสื่อสารต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน

ถึงส่วนนี้จะเป็นส่วนเสริม แต่เรามองว่าในปัจจุบันสิ่งนี้คือสิ่งที่สำคัญมากในการสื่อสาร เพราะก่อนที่เราจะสื่อสารให้ผู้คนเราจะต้องรู้ก่อนว่าการสื่อสารนั้นของเรามีเป้าหมายอะไร เหมาะสมกับผู้ฟังที่เรากำลังจะสื่อสารหรือไม่

อีกทั้งองค์ประกอบนี้ยังเป็นตัวที่จะทำให้การสื่อสารของเราราบรื่นไม่หลุดประเด็น เพราะในการสื่อสารบางครั้งก็มีประเด็นอื่นมาปะปน จนอาจทำให้เราหลุดจากประเด็นหลักที่จะสื่อสารก็เป็นได้

Kairos การเลือกเวลาในการสื่อสารที่เหมาะสม

ส่วนเสริมที่ 2 ก็คือการเลือกเวลาในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ก่อนจะสื่อสารเราต้องดูเวลาที่คู่ควร บริบทต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลาด้วย หากสื่อสารในบริบทที่ไม่เหมาะสมหรือผิดเวลาก็จะทำให้เกิดผลเสียในการสื่อสารเหล่านั้นได้ แต่กลับกันถ้าเราเลือกเวลาที่จะสื่อสารได้ดี ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะโน้มน้าวผู้คนได้เป็นอย่างดี

Scale’s Takeaways

1. ความสำเร็จในอดีต ยังใช้งานกับปัจจุบันได้

ในยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาของการสื่อสาร รวมไปถึงความต้องการของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เราอาจจะมองว่าวิธีคิดแบบเก่าๆ อาจจะใช้ไม่ได้ 

แต่อย่าลืมว่าทุกเทคนิคการสื่อสาร ล้วนเกิดขึ้นจากการอยากตอบสนองความต้องการของสิ่งที่เรียกว่า “มนุษย์” สุดท้ายแล้วแก่นกลางของผู้ฟังก็ยังคงมีลักษณะเฉพาะทางความต้องการที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปสักเท่าไหร่ การหาข้อดีของเทคนิคในอดีต อาจจะช่วยตอบสนองความต้องการของคนยุคนี้ได้ดีมากกว่าที่คิด

2. บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้สื่อสารได้เลยคือบุคลิกภาพ ไม่ใช่แค่ภายนอกแต่รวมไปถึงคาแร็คเตอร์ของผู้สื่อสารด้วย ไม่ว่าเราจะสื่อสารเรื่องอะไร ผู้ฟังจะเชื่อถือในรูปลักษณ์ภายนอกก่อนเสมอ 

เพราะฉะนั้นเวลาจะสื่อสารอะไร เราควรปรับบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับทั้งเรื่องที่จะเล่า สถานที่ และผู้ฟังด้วย

3. ควรรู้ว่าเราจะคุยกับใคร

ในการสื่อสารต่อให้มีองค์ประกอบครบมากขนาดไหน สิ่งสำคัญคือเรากำลังสื่อสารเรื่องราวให้กับคนที่เขาสนใจในเรื่องนั้นหรือไม่ สิ่งนี้คือหลักการตลาดง่ายๆ แต่ผู้สื่อสารมักจะมีการหลุดประเด็นอยู่บ่อยครั้ง

แบรนด์ที่สามารถยึดวิธีการสื่อที่เป็นเอกลักษณ์ และยังรู้ว่าผู้รับสารของตัวเองเป็นใคร ก็จะสามารถพัฒนาธุรกิจให้มีอายุยืนยาวได้ในทุกยุคทุกสมัย

สรุป

การสื่อสารของ Aristotle เป็นเหมือนข้อคิดที่เราสามารถนำไปวิเคราะห์ในการสื่อสารของเราได้ ว่าเรายังขาดตรงไหน หรือใครความสำคัญส่วนไหนมากเกินไปหรือเปล่า 

เชื่อว่าเพื่อนๆ ที่ได้อ่านและนำองค์ประกอบเหล่านี้ไปปรับใช้ จะทำให้การสื่อสารของเพื่อนๆ มีคุณภาพและสร้างการโน้มน้าวใจของผู้ฟังได้อย่างมหาศาลเลย

อ้างอิง

https://www.interaction-design.org/literature/article/the-persuasion-triad-aristotle-still-teaches

https://www.clarendonhousebooks.com/single-post/aristotle-and-the-3-methods-of-persuasion

https://www.thecollector.com/aristotle-model-communication/

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตาม scale เพื่อเติมความรู้ดีๆ ใส่สมองก่อนใคร!

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามต่อทาง Social Media

นอกจากอีเมลแล้ว คุณยังสามารถติดตามคอนเทนต์ดีๆ ผ่าน Social Media ได้เช่นกัน

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามเราทาง Facebook

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

กดปุ่มนี้

Scroll to Top