5 บทเรียน ซ่อมแซมจิตใจที่บอบช้ำเพื่อความสุขที่ยั่งยืน 

CTC recap 11

สรุปจากงาน “Creative Talk Conference 2024” ใน Session Keep Calm, But Don’t Carry On: Hear You Broken Heart ล้มแล้วอย่ารีบลุก ซ่อมความสุขเมื่อใจสลาย Guy Winch (TED Talk Speaker, นักจิตวิทยา, นักเขียนหนังสือ Emotional First Aid และ How to Fix a Broken Heart)

มาร่วมกันสำรวจจิตใจ ล้มแล้วค่อย ๆ หาวิธีลุกไปกับคุณ Guy Winch นักจิตวิทยาระดับโลก

5 บทเรียน ซ่อมแซมจิตใจที่บอบช้ำเพื่อความสุขที่ยั่งยืน

1. อาการบาดเจ็บทางใจสักเกตได้ยาก

  • ใจที่เจ็บปวดมักซ่อนอยู่ลึก ต่างกับการบาดเจ็บทางกาย
  • ความเจ็บปวดทั้งทางจิตใจแม้เพียงนิดเดียว เป็นสัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม
  • คนส่วนมากในปัจจุบัน มักประสบกับภาวะหมดไฟ (Burnout Syndromes) หรือภาวะสิ้นยินดี (Dead Inside)

2. คนบอบช้ำมักเสพติดความเจ็บปวดโดยไม่รู้ตัว

  • ความเจ็บทำให้เราตาบอดและมองแต่แง่ร้าย
  • เมื่อเราหมดหวัง เรายังมีทางออกอีกมากที่เรามองไม่เห็น
  • เคารพและพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่แค่ “เพื่อนร่วมงาน”

3. สำรวจสุขภาพจิตอย่างสม่ำเสมอ

  • เพิ่มวัฒนธรรมความมนุษย์ในองค์กร พูดคุยกับคนรอบข้างเรื่องการดูแลจิตใจโดยไม่จำเป็นต้องรอนโยบายบริษัท
  • พูดคุยกับตนเองและรับฟังโดยไม่ด่วนตัดสิน ทำให้สิ่งนี้เป็นเรื่องปกติ
  • โครงสร้างทางสังคม เช่น การศึกษา ทำให้เราสนใจด้านกายภาพมากกว่าจิตใจ เราควรปรับความคิดนั้น
  • คอยสำรวจว่าจิตใจของเรากำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ เหมาะสมกับเวลาตอนนั้นหรือไม่ แล้วเราจะรู้จักจิตใจตัวเองได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
  • ความรู้สึกไม่ใช่เรื่องอ่อนแอ แต่เป็นสิ่งที่เราควรทำความรู้จักให้มากขึ้น

4. คอยดูแลจิตใจให้แข็งแรง เหมือนที่เราดูแลร่างกาย

  • จิตใจต้องการดูแลสม่ำเสมอ เหมือนกับที่เราออกกำลังกาย คอยถามตัวเองว่า เราสามารถทำอะไรได้บ้างในตอนนี้
  • หากรู้สึกเจ็บปวดทางใจ ให้พยามหาทางรักษา เหมือนกับที่เรากินยา หรือรักษาเวลาบาดเจ็บทางร่างกาย
  • กำลังใจที่แข็งแรงช่วยให้เราอายุยืนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ความเหงาในระยะยาวส่งผลต่อร่างกายไม่ต่างกับการสูบบุหรี่จำนวนมาก
  • พยายามคิดเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช้คิดเรื่องปัญหา หรือคิดว่าปัญหานั้นจะต้องเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง
  • ความรักษาสภาพจิตใจและการป้องกันความบอบซ้ำต้องไปพร้อมกัน 
  • เราสามรถฝึกฝนความแข็งทางจิตใจได้เหมือนกับร่างกาย
  • อย่ารอให้จิตใจเยียวหาตัวเอง หาวิธีการมาช่วยดูแลอย่างสม่ำเสมอ เช่น การฟัง Podcast ที่จัดโดยนักจิตวิทยาอย่าง Dear Therapists
  • ค่อย ๆ หาต้นตอและวิธีควบคุมจิตใจของตนเอง

5. ล้มแล้วค่อย ๆ ลุก การร้องให้ไม่ได้แปลว่าอ่อนแอ

  • เรียนรู้ที่จะโอบรับความรู้สึกผิดหวัง เข้าใจ และลุกขึ้นมาใหม่
  • การร้องไห้เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นกลไกปลดปล่อยความตึงเครียดและความผิดหวัง เราไม่ควรมองการร้องไห้ในแง่ลบ
  • คนส่วนมากไม่ได้ผิดหลายพันอย่าง แต่เราทำเรื่องเดิม ๆ ผิดซ้ำ ๆ
  • ทุกคนมีเวลาและความพร้อมของตัวเอง ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องให้ใครกำหนด กำหนดสิ่งนั้นด้วยตัวเอง
  • เปลี่ยนความคิดแง่ลบให้เป็นคำถาม ว่าเราจะแก้ไขสิ่งนั้นได้อย่างไร
  • การฟังเรื่องราวของคนอื่น จะช่วยให้เรามองย้อนกลับมาหาตัวเอง และรู้ว่าเราไม่ได้เป็นคนเดียวบนโลกที่เผชิญหน้ากับปัญหานั้น
  • เราทุกคนต่างเป็นมนุษย์ เราสามารถรวมตัวกัน รับฟัง เชื่อมต่อ ดูแล และปกป้องซึ่งกันและกันได้

สรุป

เรียนรู้ที่จะดูแลจิตใจ ฟื้นฟูความสุขที่ยั่งยืน เพราะจิตใจก็สำคัญไม่แพ้ร่างกาย ลองนำบทเรียนเหล่านี้ไปปรับใช้ในชีวิตแล้วคุณจะค้นพบกับความสุขที่แท้จริง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตาม scale เพื่อเติมความรู้ดีๆ ใส่สมองก่อนใคร!

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามต่อทาง Social Media

นอกจากอีเมลแล้ว คุณยังสามารถติดตามคอนเทนต์ดีๆ ผ่าน Social Media ได้เช่นกัน

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

ติดตามเราทาง Facebook

เราสัญญาว่าจะเติมแต่ความรู้ดีๆ ใส่สมองของคุณ :)

กดปุ่มนี้

Scroll to Top